วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การแยกสารผสม ม.2

การสกัดด้วยตัวทำละลาย (solvent extraction)

ใช้แยกสารออกจากกันโดยอาศัยสมบัติที่ว่า สารแต่ละชนิดละลายได้ในตัวทำละลายที่แตกต่างกัน จึงต้องเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถสกัดสารที่ต้องการได้ในปริมาณมาก เช่น การใช้เอทานอลสกัดสารที่มีสีจากขิง การใช้น้ำสกัดสารที่มีกลิ่นจากขิง การใช้แอลกอฮอล์สสกัดน้ำมันหอมระเหยจากขมิ้น การใช้คลอโรฟอร์มสกัดคาเฟอีนในเครื่องดื่ม เป็นต้น

ตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดสารควรมีสมบัติดังนี้
1.สามารถละลายสารที่ต้องการสกัดได้ดี
2.กรณีที่ต้องการสกัดสารที่อยู่ในสารละลาย ตัวทำละลายต้องไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกันกับสารละลายของสารที่ต้องการสกัด
3.ควรมีจุดเดือดพอเหมาะไม่สูงเกินไป เพื่อสะดวกในการแยกออกจากสารที่สกัดได้ หละงจากทำการสกัดแล้ว
4.ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ถูกสกัด
5.ไม่เป็นพิษ
6.กรณีที่มีตัวทำละลายที่เหมาะสมหลายชนิด ควรเลือกชนิดที่มีราคาถูกที่สุด

การสกัดดัวยตัวทำละลายเป็นวิธีที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรม เช่น การสกัดน้ำมันพืชเพื่อใช้ประกอบอาหารจากงา รำข้าว ข้าวโพด เมล็ดนุ่น ถั่วลิสง เมล็ดบัว ปาล์ม ตัวทำละลายที่นิยมใช้คือ เฮกเซน (C6 H12) เมื่อใช้เฮกเซนสกัดน้ำมันจากพืชแล้ว ต้องนำสารละลายที่ได้ไปกลั่นเพื่อแยกเฮกเซนออกมา แล้วนำกลับไปใช้สกัดน้ำมันพืชได้อีก ส่วนน้ำมันพืชที่ได้ต้องนำไปกำจัดสีและกลิ่นเพื่อให้ได้น้ำมันพืชบริสุทธิ์

การสกัดดัวยตัวทำละลาย อาจสกัดด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ซอกซ์เลต (soxhlet extraction apparatus) เพราะใช้ตัวทำละลายปริมาณน้อย แต่ทำให้ตัวทำละลายหมุนเวียนผ่านสารที่ต้องการสกัดหลายๆครั้งอย่างต่อเนื่อง เช่น การสกัดน้ำหอมจากดอกไม้ การสกัดสารอินทรีย์ออกจากสารผสมที่เป็นของแข็ง ตัวทำละลายที่นิยมใช้ ได้แก่ เฮกเซน เบนซีน ปิโตเลียมอีเทอร์